เมื่อได้หินเจียรก้อนใหม่มา มีข้อแนะนำ ข้อควรระวัง และ ข้อห้ามทำดังนี้
ข้อแนะนำ ก่อนการใช้งาน
1. ตรวจสอบหินก่อนนำมาใช้ ให้เห็นว่าหินเจียรอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือมีรอยร้าวหรือไม่
โดยการเคาะรอบรอบตัวหินเจียร และฟังเสียง ถ้ามีเสียงก้องกังวานคล้ายๆเคาะเหล็ก แสดงว่า หินเจียรแน่นไม่มีรอยด้านใน แต่ถ้าเสียงที่เคาะไม่ก้องกังวานหินเจียรอาจมีรอยแตกร้าวด้านใน ไม่ควรนำมาใช้ อาจเกิดการแตกกระเด็นระหว่างเจียรได้
2. ให้ทำการตั้งศูนย์ถ่วงหินเจียร (บาลานซ์หิน) ก่อนนำหินเจียรขึ้นเครื่องทุกครั้ง
โดยมาตรฐานของหินเจียรโฟนิกทุกก้อน จะมีการบาลานซ์หินมาเรียบร้อยแล้วทุกก้อน โดยการสุ่มตรวจสอบการตั้งศูนย์ถ่วงหินเจียรเรียบร้อยก่อนนำออกมาจำหน่าย แต่การนำมาหินเจียรมาใช้กับเครื่องจักรของแต่ละโรงงาน จำเป็นต้องบาลานซ์หินเจียรอีกเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับเครื่องจักรของแต่ละโรงงานอีกครั้ง
3. ช่วงแรกในการเดินเครื่องจักร ให้เปิดเดินเครื่อง และคอยฟังเสียงว่าใส่หินเจียรเข้ากับแฟรงค์ ของเครื่องจักรพอดีแล้ว จึงค่อยค่อยปรับระดับของหินเจียร เพื่อที่จะไปสัมผัสกับชิ้นงานต่อไป งานเจียก็จะราบรื่นไม่เกิดกระแทก หรือทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหาย
ข้อแนะนำ หลังใช้งาน
หากใช้งานไปแล้วหินไม่คมสามารถล้างหน้าหินเจียรให้คมได้โดย ใช้เฟืองกรอหินเจียร เพชรแต่งหินชนิดหัวเดียว หรือ เพชรแต่งหินชนิดเพชรเหลี่ยมแบบกลุ่ม เพื่อกรีดล้างหน้าหินเจียระไน ให้กลับมาคม ใช้งานได้เหมือนเดิม โดย
หินก้อนเล็ก ใช้เฟืองกรอหินเจียร
หินก้อนใหญ่ ใช้เพชรแต่งหิน แบบหัวเดียว
หินที่มีหน้ากว้าง ใช้เพชรแต่งหินแบบกลุ่ม
ข้อห้าม
1. ในการประกอบหินเจียรเข้ากับเครื่องจักร ไม่ควรใช้ความรุนแรงกับหินเจียรไน
การประกอบหินเข้ากับเพลา spindle ของเครื่องจักรไม่ควรใช้ค้อนทุบหินอย่างรุนแรง เพราะอาจจะทำให้หินเจียรเกิดรอยร้าวด้านในได้ ทำให้เกิดอันตรายเมื่อใช้งาน อาจมีการระเบิดหรือแตกได้เนื่องจากในขณะเดินเครื่องจะเกิดแรงเหวี่ยงค่อนข้างสูง หากรูใน (เส้นผ่าศูนย์กลางของรูกลางของหินเจียร bore )ของหินเจียร ไม่สามารถเข้าเครื่องได้ และ แน่นจนเกินไปให้ถอดหินเจียรออกมา และใช้กระดาษทรายขัด ตกแต่งขยายรูในได้ เนื่องจากหินเจียระไนยี่ห้อฟิกในส่วนของรูใน จะเคลือบด้วยซีเมนต์ ซึ่งสามารถที่จะใช้กระดาษทรายขัดออกได้โดยง่ายเป็นส่วนที่ทำมาเพื่อให้ปรับสามารถปรับในให้ได้ง่ายขึ้น (รูใน เส้นผ่าศูนย์กลางของรูกลางของหินเจียร ควรโตกว่าเพลาเล็กน้อย)
2. ห้ามใช้หินเจียรผิดด้าน
เช่น หินเจียรรูปทรงถ้วย (ทั้งทรงถ้วยตรง6a และทรงถ้วยเฉียงเปเปอร์ 11a ) ให้ใช้ตรงปากถ้วยเท่านั้น ในการเจียร ห้ามใช้ด้านข้างของถ้วยเจียรงาน เพราะอาจทำให้หินแตก เป็นอันตรายรุนแรงได้
ข้อควรระวัง
1. ระวังการนำหินเจียรไปแช่น้ำก่อนใช้งาน
การแช่หินเจียระไนไว้ค้างคืนในน้ำไม่มีผลกับ ประสิทธิภาพการใช้งานของหินเจียรให้ได้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แต่มักจะทำให้แผ่นสติกเกอร์ที่ระกบ กับหินเจียระไนหลุดออก สติกเกอร์ที่ประกบอยู่ด้านหน้าเห็นเจียระไนทั้งสองฝั่งไม่เพียงแต่ทำขึ้นเพื่อบอกสเปค และไซด์ของหินเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวเป็นเป็นตัวกันกระแทกอย่างดี มีประโยชน์อย่างสูงสุดในการกันกระแทกโดยสติกเกอร์จะเป็นตัวกัน และลดแรงกระแทกระหว่างของหินเจียร กับเครื่องจักร ลดปัญหา ทำให้หินเจียรไม่เกิดการแตกร้าว หรือ ว่าระเบิดระหว่างเจียรไน
การใช้หินเจียระไนโดยไม่มีตัวกันกระแทกระหว่างหน้าจานกับหินเจียร เป็นสาเหตุการเสี่ยงอย่างมาก ที่จะเกิดหินเจียแตกร้าวหรือระเบิดได้
หากสติกเกอร์ที่แปะบนหน้าหินหลุดใ ห้แจ้งทางบริษัท เพื่อส่งสติกเกอร์ใหม่ ไปให้ติด สติกเกอร์เป็น ซับพอร์ทไม่ให้เห็นเกิดแรงกระแทกระหว่างการเจียระไน ลดปัญหา ลดความเสี่ยง และลดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดในการทำงาน
2. การทดสอบการหมุน
เมื่อประกอบหินเจียรเข้ากับเครื่องแล้ว ก่อนทำการเจียรงาน ต้องทดสอบการหมุนของหินเจียรที่ความเร็วรอบปกติประมาณ 3 นาที และไม่ควรยืนตรงหน้าหินเจียรที่กำลังหมุน หลีกเลี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้
3. การประกอบหินเจียรเข้ากับจานของเครื่องจักร
ควรยึดจานจากด้านในให้แน่นหนาโดยใช้เครื่องมือช่วย อาจใช้เป็นลิ่มช่วยในการยึด และในการยึดหน้าของจานจะต้องร่วมศูนย์(balance) กับเพลา(spindle) ของเครื่องจักร
ขนาดของหน้าจานทั้งสองด้านคนมีขนาดเท่ากัน